เมนู

[238] ปธาน 4


1. สังวรปธาน เพียรระวัง
2. ปหานปธาน เพียรละ
3. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ
4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว.
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. รู้แจ้งธรรมด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่
เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่า ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่า สังวรปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมให้สิ้นไป ย่อมให้ถึง
ความไม่มีซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่ง
พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป
ย่อมให้ถึงความ ไม่มีซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ นี้เรียกว่า
ปหานปธาน.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลาย
กำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง. ย่อมเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
ความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความ
สละลงนี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิต อันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา
ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เรียกว่า
อนุรักขนาปธาน.

[239] ญาณ 4


1. ธัมมญาณ ความรู้ในธรรม
2. อันวยญาณ ความรู้ในการคล้อยตาม
3. ปริจเฉทญาณ ความรู้ในการกำหนด
4. สัมมติญาณ ความรู้ในสมมติ.

ญาณอีก 4


1. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์
2. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
3. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในการดับทุกข์
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์